ทศวรรษ โรงเรียนวัดราชาธิวาส (ฉบับย่อ)


ทศวรรษที่ ๑ พ.ศ.๒๔๔๖-๒๔๕๕

ประวัติความเป็นมาของโรงเรียนวัดราชาธิวาส

โรงเรียนวัดราชาธิวาส ได้กำเนิดขึ้น ณ บริเวณวัดราชาธิวาสในเดือนพฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๒ (พ.ศ. ๒๔๔๖) สถานที่ที่ใช้เป็นโรงเรียนแห่งแรกคือ คณะทางเหนือซึ่งอยู่ "ด้านน่านอกคูพระอุโบสถ มีการเปรียญตึกอย่างแบบรัชกาลที่ ๓ ใหญ่หลังหนึ่ง ศาลาขวางน่าหลังใช้เป็นโรงเรียน" (ตั้งอยู่ส่วนริมน้ำด้านหน้าของศาลาการเปรียญไม้สักปัจจุบัน

โรงเรียนไม้ชั่วคราวหลังแรก

๑๑ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๗ (พ.ศ. ๒๔๕๑) ระหว่างที่มีการสังขรณ์วัดราชาธิวาส มีการรื้อถอนและสร้างใหม่เป็นการใหญ่ จึงได้ย้ายโรงเรียนไปไว้ที่วังกรมหมื่นจรัสพรปฏิภาณชั่วคราว จนกว่าจะจัดการก่อสร้างโรงเรียนชั่วคราวเสร็จ

๑๗ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๘ (พ.ศ. ๒๔๕๒) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จทอดพระเนตรโรงเรียนวัดราชาธิวาสที่ปลูกสร้างขึ้นชั่วคราวหลังใหม่พร้อมด้วยพระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช สถานที่แห่งนี้ เป็นเรือนไม้ชั้นเดียว เป็นรูปตัวแอล หลังคาทรงปั้นหยา ทาสีหลังคาด้วยสีแดง กว้าง ๖ เมตร ยาว ๒๔ เมตร ยกพื้นขึ้นมาสูง มีบันได มีฝา พื้นดินบริเวณรอบชายคาโรงเรียนลาดด้วยซีเมนต์ ปูกระเบื้อง เป็นอาคารขนาด ๔ ห้องเรียน การก่อสร้างสิ้นเงิน ๒,๐๐๐ บาท (สองพันบาทถ้วน) โดยใช้เงินมรดกของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย (อาคารนี้ตั้งอยู่บริเวณเสาธงโรงเรียนและต้นจามจุรีในปัจจุบันนี้) โรงเรียนนี้รื้อตำหนักกรมหมื่นจรัสพรปฏิภาณมาปลูกชั่วคราว

การเรียนการสอนในโรงเรียน โรงเรียนประถมศึกษา "ราชาธิวาส"

เมื่อแรกตั้งสถานศึกษาในปี ร.ศ. ๑๒๒ โรงเรียนวัดราชาธิวาสจัดเป็นประถมศึกษา ซึ่งใช้หลักสูตรตามโครงการศึกษา พ.ศ. ๒๔๔๕ คือ

๑. ชั้นมูลศึกษา เรียน ๑ ปี
๒. ชั้นประถมศึกษา เรียน ๒ ปี

อายุของผู้เรียนคือระหว่าง ๑๐-๑๒ ปี เมื่อเรียนสำเร็จถือว่า เรียนจบประโยค ๑ และในปีการศึกษา ๒๔๕๐ กรมึกษาธิกาได้แก้ไขหลักสูตรสามัญและเติมวิชาให้สมควรแก่ความต้องการ จึงเปลี่ยนแปลงหลักสูตร ดังนี้

๑. ชั้นมูลศึกษา เรียน ๓ ปี
๒. ชั้นประถมศึกษา เรียน ๓ ปี

ในหลักสูตรมิได้กำหนดตายตัวไว้ว่า นักเรียนที่จะเข้าเรียนระดับประถมศึกษาต้องผ่านประโยคมูลศึกษาก่อนแต่อย่างใด "ประโยคมูล ซึ่งแต่เดิมจัดเป็นชั้นเบื้องต้นของประถมศึกษา ยังหาได้มีการสอบไล่เป็นกิจลักษณะไม่ การสอบไล่จัดให้มีขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๕๑ เป็นครั้งแรก"

ในปี พ.ศ. ๒๔๕๖ ใด้ประกาศใช้โครงการศึกษาใหม่ เป็นหลักสูตรชั้นมูลศึกษา เป็น

๑. ประถมศึกษา เรียน ๓ ปี (นักเรียนที่จะเข้าเรียน ป.๑ อายุ ๘ ปี) เมื่อสำเร็จแล้ว ถ้าไม่เรียนต่อชั้นสูงต่อไป ต้องเรียน
๒. ประถมศึกษา ปีที่ ๔ และ ๕ (เพื่อเรียนวิชาเบื้องต้น)


ทศวรรษที่ ๒ พ.ศ.๒๔๕๖-๒๔๖๕

"ตึกไชยันต์ ๒๔๕๕"

ในปี ร.ศ. ๑๓๑ (พ.ศ. ๒๔๕๕) เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี เสนาบดีกระทรวงธรรมการ ได้มีหนังสือกราบทูลสมเด็จพระเจ้าบรมวงษ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนริศรานุวัดติวงศ์ถึงเรื่องพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการสร้างโรงเรียนวัดราชาธิวาส ซึ่งกว่าจะสำเร็จลุล่วงเป็นอาคารถาวรได้นั้น โรงเรียนต้องพบอุปสรรคนานัปการ โรงเรียนเริ่มทรุดตั้งแต่เดือนมิถุนายน ร.ศ. ๑๒๙ และซ่อมแซม ๑ ครั้งในเดือนสิงหาคม รศ. ๑๒๙ หลังจากนี้ก็ชำรุดทรุดโทรมมาเรื่อยๆ จนกระทั่งวันที่ ๒๐ มกราคม ร.ศ. ๑๓๑ (พ.ศ. ๒๔๕๕) ได้มีบันทึกฉบับหนึ่ง พระราชทาน

เปลี่ยนจากประถมศึกษาเป็นมัธยมศึกษา

โรงเรียนวัดราชาธิวาส จัดการศึกษาระดับประถมศึกษามาตั้งแต่ปี ร.ศ. ๑๒๒ (พ.ศ. ๒๔๔๖) จนกระทั่งในวันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๔๕๙ พนักงานจัดการจังหวัดพระนครเหนือ ได้มีหนังสือถึงผู้รั้งตำแหน่งเจ้ากรมสามัญศึกษา ให้โรงเรียนวัดราชาธิวาสเปิดรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น แล้วตัดนักเรียนประถมศึกษาที่มีอยู่ไปรวมที่วัดส้มเกลี้ยง (วัดราชผาตอการาม) และให้เก็บค่าเล่าเรียนอย่างชั้น ๑ คือเดือนละ ๑ บาทต่อคน

ชั้นที่เปิดสอนและตัดไป มีดังนี้
พ.ศ. ๒๔๖๐ เปิดสอนชั้นมัธยมปีที่ ๑
พ.ศ. ๒๔๖๑ เปิดสอนชั้นมัธยมปีที่ ๒
พ.ศ. ๒๔๖๒ เปิดสอนชั้นมัธยมปีที่ ๓
พ.ศ. ๒๔๖๓ เปิดสอนชั้นมัธยมปีที่ ๔
พ.ศ. ๒๔๖๔ เปิดสอนชั้นมัธยมปีที่ ๕
พ.ศ. ๒๔๖๖ ตัดชั้นประถมปีที่ ๑
พ.ศ. ๒๔๖๗ ตัดชั้นประถมปีที่ ๒
พ.ศ. ๒๔๖๘ ตัดชั้นประถมปีที่ ๓

ปี พ.ศ. ๒๕๖๓ "โรงเรียนดัดจริต" ซึ่งตั้งอยู่หน้าวชิรพยาบาลปัจจุบันนี้กับ "โรงเรียนบิดสันดาน" ตั้งอยู่ที่โรงพิมพ์อักษรนิติ บางขุนพรม ได้ยุบมารวมที่โรงเรียนวัดราชาธิวาส จัดเป็นโรงเรียนสหศึกษา ครั้นเปิดโรงเรียนสตรีโชติเวชที่วัดกุญชร จึงย้ายนักเรียนหญิงไปอยู่ที่นั่น โรงเรียนวัดราชาธิวาสจึงมีแต่นักเรียนชาย


ทศวรรษที่ ๓ พ.ศ.๒๔๖๖-๒๔๗๕

ก่อตั้งสมาคมนักเรียนเก่าราชาธิวาส

วันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ ได้รับอนุญาตการจดทะเบียนเป็นสมาคมโดยสมบูรณ์ตามเอกสาร นายทะเบียนสมาคม ที่ทำการกองตำรวจสันติบาล ลงนามโดย พลต.จ.รัตน์ วัฒนะมหาตม์ เลขลำดับ จ.๕๔๓ ชื่อ "นักเรียนเก่าราชาธิวาส" ในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ได้มีการตั้งคณะอนุกรรมการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของสมาคม ดังนี้

สมาคมนักเรียนเก่าราชาธิวาส ใช้อักษรย้อว่า ส.ร.ว. เรียกเป็นภาษอังกฤษว่า Rajathivas Alumni Association ใช้อักษรย่อว่า R.A.A


ความทรงจำของ ชาวราชาธิวาส ผู้สูงอายุ (๙๔) ตอนที่ ๑ (พันเอกถนอม เกิดสุข เลขประจำตัว ๑๗๙๒)

จากการที่ได้รับ สารสัมพันธ์ "ราชาธิวาส" ที่ได้แนบไปกับหนังสือ..... อ่านเพิ่มเติม..คลิก


ศุขเล็ก (นายประยูร จรรยาวงษ์ เลขประจำตัว ๑๒๘๕)


ทศวรรษที่ ๔ พ.ศ.๒๔๗๖-๒๔๘๕

ตึกสามพี่น้อง ๒๔๗๙

ครั้นต่อมาถึง พ.ศ. ๒๔๗๙ หม่อมเจ้าหญิงสุภางค์พักตร์ ไชยันต์ พระชายาในนามพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย ทรงบริจากทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ จำนวน ๔,๓๐๐ บาท สร้างตึก "สามพี่น้อง" เป็นสถานศึกษาเพื่อทรงอุทิศส่วนกุศลแด่ พระธิดาและพระโอรสรวม ๓ พระองค์ คือ

๑. หม่อมเจ้าหญิงอำไพสุพันธ ไชยันต์
๒. หม่อมเจ้าชายจันทร์จุฑาไชยันต์
๓. หม่อมเจ้าชายมหาฤกษ์ ไชยันต์

เปิดสอนชั้นเตรียมอุดมศึกษา

เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ ซึ่งเป็นปีที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง มาเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตย ได้จัดชั้นเรียนระดับมัธยมศึกษา ตามแผนการศึกษาชาติ พ.ศ. ๒๔๗๕ คือ แบ่งเป็นระดับมัธยมตอนต้นและตอนปลาย แต่ละตอนมี ๔ ชั้น สำหรับสายสามัญศึกษา เมื่ือจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายแล้ว ให้เข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาต่อไป

ในปี พ.ศ. ๒๔๙๑ กระทรวงศึกษาธิการได้อนุม้ติให้เปิดสอนชั้นเตรียมอุดมศึกษา แผนกอักษรศาสตร์ได้ โดยรับต่อจากชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ อีก ๒ ปี

ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ท่านเจ้าคุณพระศาสนโสภน เจ้าอาวาสวัดราชาธิวาส เสนอความเห็นว่า ทางโรงเรียนควรเปิดสอนแผนกเตรียมวิทยาศาสตร์ขึ้นอีกแผนกหนึ่ง และกรุณามอบตำหนัก ๔ ฤดุในวัดราชาธิวาส ให้สำหรับนักเรียนชั้นเตรียมอุอมศึกษาได้อาศัยเรียนชั่วคราว (ปีการศึกษา ๒๕๐๐-๒๕๐๑)


รำลึกความทรงจำ เมื่อ ๗๓ ปี (นายเฉนียน สวัสดิ์วรรณกิจ เลขประจำตัว ๒๖๙๘)

สวัสดีครับ ชาว ร.ว. ที่รักทุกคนและกราบคารวะครูทุกท่าน..... อ่านเพิ่มเติม..คลิก


ทศวรรษที่ ๕ พ.ศ.๒๔๘๖-๒๔๙๕

คณะครูอาจารย์และนักเรียนชั้นมัธยมปีที่ ๖ โรงเรียนวัดราชาธิวาส ปี พ.ศ. ๒๔๙๖


ทศวรรษที่ ๖ พ.ศ.๒๔๙๖-๒๕๐๕

ตึกวาสุกรี ๒๕๐๑

เมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๑ กระทรวงศึกษาธิการ ได้อนุมัติเงินจพนวน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท ให้ปลุกสร้างอาคารเรียนขึ้นอีกหลังหนึ่งลักษณะทั่วไปของอาคารเรียนเป็นอาคาร ๓ ชั้น


บทกลอน "รั้ว ร.ว." (พตรีวิเชียร ชูปรีชา รุ่นที่ ๕๐ เลขประจำตัว ๓๙๙๑)


กับความทรงจำที่ฝังใจ กำเนิดลูกเสือกองพิเศษ "ราชาธิวาส" (ดร.ธนาวิฒิ วงศ์สว่าง รุ่นที่ -- เลขประจำตัว -)

บันทึกความจำที่นำมารวบรวมขึ้นนี้ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อกว่า ๕๐ ปีมาแล้ว..... อ่านเพิ่มเติม..คลิก


ทศวรรษที่ ๗ พ.ศ.๒๕๐๖-๒๕๑๕

ตึกสมอราย

ในปี พ.ศ. ๒๕๑๑ กระทรวงศึกษาธิการ ได้อนุมัติเงินจพนวน ๑,๘๐๐,๐๐๐ บาท ให้โรงเรียนเพื่อปลูกสร้างอาคารเรียนเพิ่มเติมอีก อาคารเรียนนี้ที ๑๘ ห้องเรียน เป็นแลล ๔๑๘ (สี่ชั้น)

วันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๕ ได้มีการต่อเติมอาคาร "ตึกสมอราย" ไปทางทิศใต้อีก เป็นเงิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท


จากบันทึกความทรงจำของข้าพเจ้า (ดร.จรัญ โสตถิพันธุ์ อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนฯ)

ในชีวิตการรับราชการของข้าพเจ้านับถึงวันนี้เป็นเวลา 17 ปีแล้วได้มีโอกาสรับราชการในส่วนกลางซึ่งหมายถึงในกรุงเทพมหานคร..... อ่านเพิ่มเติม..คลิก


ความประทับใจในดนตรีไทย (พลเอกพงศธร ฉายกำเหนิด รุ่นที่ ๖๕ เลขประจำตัว ๘๑๒๘)

ในวัยเด็กผมได้เข้าเรียนที่โรงเรียนสื่อสารสงเคราะห์ (ชั้น ป.๑ – ๗)..... อ่านเพิ่มเติม..คลิก


ชมพูน้ำเงิน คือราชาธิวาส (นายสุรพล พนัสอำพล รุ่นที่ ๖๗ เลขประจำตัว ๘๖๒๗)

ข้าพเจ้าเข้ามาเป็นลูกราชาธิวาสเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๓ สอบแข่งขันเข้าเรียนชั้น ม.ศ.๑ ร่วมกับเพื่อนๆ..... อ่านเพิ่มเติม..คลิก


ทศวรรษที่ ๘ พ.ศ.๒๕๑๖-๒๕๒๕

รื้อ "ตึกไชยันต์ ๒๔๖๒" สร้าง "ตึกไชยันต์" ใหม่

วันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๘ ได้งบประมาณก่อสร้างตึก ๖ ชั้น ด้าที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ก่อน โดยได้งบประมาณ ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท โครงการของตึกนี้เป็ยรูปตัวแอล ๖ ชั้น อาคารนี้สร้างเสร็จเมื่อวันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๙

อีก ๔ ปีต่อมา (พ.ศ. ๒๕๒๐) โรงเรียนได้งบประมาณก่อสร้างต่อเติมตึกไชยันต์อีก ๔,๐๐๐,๐๐๐ บาท โดยสร้างต่อเติมด้นหน้าออกไปทางทิศเหนือ เป็นลักษณะตัวแอล (L) พ.ศ. ๒๕๒๓ ได้งบประมาณก่อสร้างต่อเติมตึกไชยันต์อีก ๒,๕๐๐,๐๐๐ บาท จึงก่อสร้างเพิ่มความยาวของตึกอีก ๑ ห้อง ต่อทางเชื่อมระหว่างตึกไชยันต์กับตึกสมอราย และทางเชื่อมกับตึกวาสุกรี ส่วนห้องบันไดและห้องน้ำตัดแบบทิ้งไป

อาลัยตึกสามพี่น้อง ๒๔๗๙ ต้อนรับตึกเอนกประสงคฺ "สามพี่น้อง"

ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ โรงเรียนวัดราชาธิวาสได้รับงบประมาณอีกจำนวน ๖,๒๐๐๐,๐๐๐ บาท เพื่อสร้างตึกเอนกประสงค์ ๔ ชั้น ชั้นบนเป็นดาดฟ้าสำหรับใช้เป็นสนามบาสเกตบอล

เปลี่ยนแปลงหลักสูตรตามแผนการศึกษาชาติ ณ พ.ศ. ๒๕๒๐

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ ได้มีการเปลียนแปลงระบบวัดผล จากระบบเปอร์เซ็นต์เป็นระบบหน่วยกิต สำหรับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลา ตามหลักสูตร พ.ศ. ๒๕๑๘ สำหรับแผนการศึกษาชาติ พ.ศ. ๒๕๐๓ ได้ยกเลิกไปโดยประกาศใช้แผนการศึกษาชาจิ พ.ศ. ๒๕๒๐ แทน


เสี้ยวหนึ่ง ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ (นายสิริพงศ์ ลวสุต รุ่นที่ ๖๖ เลขประจำตัว ๘๘๒๕๑)

ขณะนี้ ปี พ.ศ. ๑๕๕๗ นับย้อนหลังไปถึงปี พ.ศ. ๒๕๑๖ ก็คือ ๔๑ ปีที่ผ่านมา..... อ่านเพิ่มเติม..คลิก


ผูกไว้ในความทรงจำ (นายวิทยา อัมภสุวรรณ์ รุ่นที่ ๖๘ เลขประจำตัว ๙๐๘๑)

สวัสดีครับ พี่ๆ น้องๆ คณาจารย์และพี่น้องชาวชมพูน้ำเงินทุกท่าน..... อ่านเพิ่มเติม..คลิก


รำลึกอดีต...หลังรั้วชมพู-น้ำเงิน (นายวิทยา ภวะเวส รุ่นที่ - เลขประจำตัว ๑๑๕๕๖)

เมื่อราว ๆ ช่วงต้นเดือนกันยายน ๒๕๕๗ ได้รับโทรศัพท์อย่างไม่คาดฝันจากอาจารย์พรเทพ แสงอุไร..... อ่านเพิ่มเติม..คลิก


ทศวรรษที่ ๙ พ.ศ.๒๕๒๖-๒๕๓๕

ชีวิตจากลูกราชา...เหิรฟ้าสู่การเป็นนักบิน (นายทวีพงษ์ กาญจนโอภาษ รุ่นที่ - เลขประจำตัว ๑๘๑๗๐)

สมัยเรียนที่โรงเรียนวัดราชาธิวาส ผมสนใจวิชา คณิตศาสตร์ ฟิ สิกส์ เคมี และ ภาษาอังกฤษ เป็นพิเศษ..... อ่านเพิ่มเติม..คลิก


โรงเรียนวัดราชาธิวาสในความทรงจำและความภาคภูมิใจ (นายนรเศรษฐ เจียมจิโรจน์ รุ่นที่ - เลขประจำตัว ๑๗๗๗๑)

สมัยเรียนที่โรงเรียนวัดราชาธิวาส ผมสนใจวิชา คณิตศาสตร์ ฟิ สิกส์ เคมี และ ภาษาอังกฤษ เป็นพิเศษ..... อ่านเพิ่มเติม..คลิก


เหลียวหลังสดใส... แลหน้าร่าเริง (นายระพี สีละสิริ รุ่นที่ - เลขประจำตัว ๑๖๗๖๐)

ไปติว...เพื่อสอบเข้าโรงเรียนวัดราชาธิวาส ใครๆก็หัวเราะเพราะค่านิยมในสมัยนั้น..... อ่านเพิ่มเติม..คลิก


จากวันนั้นถึงวันนี้ (นายสามารถ สุดหา รุ่นที่ - เลขประจำตัว ๒๑๑๓๕)

ผมได้มีโอกาสเริ่มเข้าเรียนที่โรงเรียนวัดราชาธิวาส จากคำแนะนำของคุณแม่ให้ไปสอบเข้าเรียนชั้น ม.๑..... อ่านเพิ่มเติม..คลิก


ทศวรรษที่ ๑๐ พ.ศ.๒๕๓๖-๒๕๔๕

จุดเปลี่ยนของโรงเรียนวัดราชาธิวาส (นางนิรมล ธรรมอุปกรณ์ อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนฯ)

จุดเริ่มต้น...ในปี ๒๕๓๔ กระทวงศึกษาธิการมีนโยบายให้โรงเรียนที่มีความพร้อมเปิดการรับนักเรียนทั้งชายและหญิงเรียนร่วมกันหรือที่เรียกว่า..... อ่านเพิ่มเติม..คลิก


เล่าเรื่อง ผู้อำนวยการหญิง หนึ่งเดียวของโรงเรียนวัดราชาธิวาส (นายปราโมทย์ ธรรมสโรช หัวหน้ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน)

ครบ ๑๑๒ ปี โรงเรียนวัดราชาธิวาสแล้วในปีนี้ เป็นโรงเรียนที่มีประวัติยาวนาน..... อ่านเพิ่มเติม..คลิก


ทศวรรษที่ ๑๑ พ.ศ.๒๕๔๖-๒๕๕๕

เมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำท่วม ๒๕๕๔ (อาจารย์พัชรินทร์ มุขดารา อดีตรองผู้อำนวยการโรงเรียนฯ)

ใครๆก็เรียกเหตุการณ์น้ำท่วม ๒๕๕๔ ว่า มหาอุทกภัยเพราะมันหนักหนาสาหัสมาก..... อ่านเพิ่มเติม..คลิก


โรงเรียนวัดราชาธิวาส...เป็นมากกว่า "โรงเรียน" (มนัสวีนันทน์ เจิงกลิ่นจันทน์ รุ่นที่ - เลขประจำตัว ๓๑๗๘๒)

การได้อยู่ในสถานศึกษาที่ดี ที่อบอุ่นไปด้วยมิตรภาพระหว่างเพื่อน คุณครู ณ โรงเรียนวัดราชาธิวาส..... อ่านเพิ่มเติม..คลิก


ทศวรรษที่ ๑๒ พ.ศ.๒๕๔๖-ปัจจุบัน

...